โครงสร้างรากเเละหน้าที่ของราก
ราก คือ ส่วนหนึ่งที่งอกต่อจากต้นลงไปในดิน ไม่แบ่งข้อและไม่แบ่งปล้อง ไม่มีใบ ตา และดอก
หน้าที่ของราก คือ สะสมและดูดซึมอาหารมาบ้ารุงเลี้ยงต้นพืช นอกจากนี้ยังยึดและค้้าจุนต้นพืช รากของพืช
แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
1.ระบบรากแก้ว คือ มีรากส้าคัญงอกออกจากล้าต้นส่วนปลาย
รูปร่างยาว ใหญ่ เป็นรูปกรวยด้านข้างของราแก้ว จะแตกแขนงออกได้ 2-3 ครั้ง ไปเรื่อย ๆ รากเล็กส่วนปลาย
จะมีรากฝอยเล็ก ๆ ออกมาเป็นจ้านวนมาก
การศึกษาราก แบ่งเป็น
1.โครงสร้างของราก
2.หน้าที่ของราก
โครงสร้างภายในของราก
เนื้อเยื่อของรากทั้งพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ตัดตามขวางตรงบริเวณที่เซลล์เจริญเติบโตเต็มที่
จะพบว่าเนื้อเยื่อของรากแบ่งออกเป็นชั้นๆเรียงจากภายนอก
1. epidermis เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดมีเซลล์ที่เรียงตัวกันเพียงชั้นเดียวและผนังเซลล์บาง
ไม่มีคลอโรพลาสต์ บางเซลล์จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนราก
2. cortex เป็นอาณาเขตระหว่างชั้น epidermis และ stele ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่ท้าหน้าที่
สะสมน้้าและอาหารเป็นส่วนใหญ่
3. endodermis เป็นเซลล์ชั้นเดียว ผนังหนา
4. stele เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากชั้น endodermisเข้าไป พบว่าstele ในรากจะแคบกว่าชั้น cortex
ประกอบด้วยชั้นต่างๆดังนี้
4.1 pericycle เป็นเซลล์ผนังบางขนาดเล็กมี 1-2 แถว พบเฉพาะในรากเท่านั้น เป็นแหล่งก้าเนิดของ
รากแขนง ( secondary root )
4.2 vascularbundle ประกอบด้วย xylem อยู่ตรงใจกลางเรียงเป็นแฉกโดยมี phloem อยู่ระหว่าง
2
แฉก
ล้าดับการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อของบริเวณราก เรียงจากนอกสุดเข้าในสุด
เอพิเดอร์มิส --> คอร์เทกซ์ --> สตีล --> พิธ
โครงสร้างของปลายราก
ปลายราก ( root tip ) ประกอบด้วยบริเวณต่างๆ 4 บริเวณ
1. บริเวณหมวกราก (regionof root cap)
ประกอบด้วยเซลล์ที่เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ ท้าหน้าที่
ห่อหุ้มและป้องกันอันตรายให้กับเนื้อเยื่อเจริญ เซลล์ของหมวกรากจะฉีกขาดอยู่เสมอเมื่อรากยาวขึ้นและ
เจริญลงไปในดิน
2. บริเวณเซลล์แบ่งตัว ( region of cell division )
เป็นบริเวณที่อยู่ถัดหมวกรากขึ้นไป ประกอบด้วย
เนื้อเยื่อเจริญ (meristem) ที่มีเซลล์ขนาดเล็ก ผนังเซลล์บาง ภายในมีโปรโตพลาสซึมมาก มีการแบ่งตัวแบบ
ไมโทซิส (mitosis) ตลอดเวลา ท้าให้มีจ้านวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น
3. บริเวณเซลล์ยืดตัว หรือ บริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว ( region of cell elongation )
เป็นกลุ่มเซลล์
ที่เจริญมาจากการแบ่งเซลล์ เซลล์ในบริเวณนี้มีแวคิวโอล (vacuole) ใหญ่ ขนาดเซลล์ก็ขยายใหญ่กว่าบริเวณ
เซลล์แบ่งตัว
4. บริเวณเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงไปท้าหน้าที่เฉพาะและเจริญเติบโตเต็มที่ ( region of cell
differentiation and maturation )
เซลล์บริเวณนี้เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปต่างๆกัน ผนังเซลล์หนาขึ้น มีการ
แบ่งกลุ่มของเซลล์เป็นเนื้อเยื่อชนิดต่างๆได้ชัดเจน
หน้าที่และชนิดของราก
รากมีหน้าที่หลักที่ส้าคัญ คือ
1. ดูด ( absorption ) น้้าและแร่ธาตุที่ละลายน้้าจากดินเข้าไปในล้าต้น
2. ล้าเลียง ( conduction ) น้้าและแร่ธาตุรวมทั้งอาหารซึ่งพืชสะสมไว้ในรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆของล้าต้น
3. ยึด ( anchorage ) ล้าต้นให้ติดกับพื้นดิน
4. แหล่งสร้างฮอร์โมน ( producing hormones ) รากเป็นแหล่งส้าคัญในการผลิตฮอร์โมนพืชหลายชนิด เช่น
ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน ซึ่งจะถูกล้าเลียงไปใช้เพื่อการเจริญพัฒนาของส่วนล้าต้น ส่วนยอด และส่วน
อื่นๆของพืช
รากค้้าจุน (prop root )
เป็นรากที่แตกออกจากข้อของล้าต้นที่อยู่ใต้ดินและเหนือดิน
เล็กน้อย แล้วพุ่งทะแยงลงไปในดินเพื่อช่วยพยุงและค้้าจุนล้าต้น ได้แก่ รากเตย ล้าเจียก ข้าวโพด ยางอินเดีย
โกงกาง และไทรย้อย
รากเกาะ (climbing root )
เป็นรากที่แตกออกมาจากส่วนข้อของล้าต้น แล้วเกาะติดกับสิ่งยึด
เกาะ เช่นเสาหรือหลักเพื่อพยุงล้าต้นให้ติดแน่นและชูส่วนของล้าต้นให้สูงขึ้นไป และให้ส่วนต่างๆของพืช
ได้รับแสงมากขึ้น ได้แก่ พลูพลูด่าง พริกไทย และกล้วยไม้
รากหนาม ( root thorn )
เป็นรากที่มีลักษณะเป็นหนามงอกมาจากบริเวณโคนต้น ตอนงอกใหม่ๆ
เป็นรากปกติแต่ต่อมาเกิดเปลือกแข็งท้าให้มีลักษณะคล้ายหนามแข็ง ช่วยป้องกันโคนต้นได้ เช่น ปาล์ม
รากสะสมอาหาร ( storage root )
ท้าหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง ไขมัน และโปรตีน เช่น ราก
กระชายมันเทศ มันแกว มันส้าปะหลัง
อ้างอิง
http://www.rr.ac.th/ratana/file.php/2/3_.pdf
ที่มาของข้อมูล : http://www.lks.ac.th/student/kroo_aumara/bio02/s1_2.htm
http://yaipu.blogspot.com/2009/06/blog-post_20.html
http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=1997
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น