การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
การตอบสนองของพืช (plant response) การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าภายนอกและสิ่งเร้าภายใน เป็นกลไกที่เกิดขึ้นจากการทำงานของฮอร์โมนพืชหรือกลไกต่าง ๆ ของเซลล์ทำให้พืชเกิดการเคลื่อนไหว
สิ่งเร้า (Stimulus) คือสิ่งที่ส่งผลหรือมีอิทธิผลต่อการตอบสนองของพืช ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ สิ่งเร้าจากภายนอก และ สิ่งเร้าจากภายใน การตอบสนองของพืชในลักษณะที่แตกต่างกันไปก็มีปัจจัยมาจากสิ่งเร้าเหล่านี้ประเภทของการตอบสนองของพืช
- การเคลื่อนไหว ซึ่งจะมีบริเวณ/โครงสร้างที่เกิดการเคลื่อนไหว และทิศทางของการเคลื่อนไหวแตกต่างกันไป
- การปล่อยสารเคมี
- การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเนื้อเยื่อ
การเคลื่อนไหวที่มีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า หรือการเบน (Tropism) สามารถแบ่งได้หลายอย่างตามชนิดของสิ่งเร้า เช่น
เหตุผนของการเบน
ประเภทการเบน | |
---|---|
การเบนตามแสง | |
การเบนเนื่องจากความโน้มถ่วง | |
การเบนเนื่องจากสารเคมี | |
การเบนเนื่องจากการสัมผัส | |
การโน้มตอบสนองความร้อน | |
การเบนตอบสนองความชื้น | |
การเบนตามตำแหน่งดวงอาทิตย์ |
เหตุผลของการเคลื่อนไหว
ประเภทการเคลื่อนไหว | |
---|---|
การบานกลางวัน | |
การหุบกลางคืน | |
การบานเมื่ออุ่น | |
การหุบเพราะสัมผัส | |
การหุบเพราะขาดน้ำ |
ฮอร์โมนพืช
1.ออกซิน
-สร้างจากเนื้อเยื่อเจริญ(ปลายยอดปลายราก)
-ทำให้เซลล์ขยายขนาดทางกว้างและยาว
-ออกซินเคลื่อนที่หนีแสง ด้านที่มีแสงน้อยจะมีออกซินมาก เซลล์จึงขยายตัวมากกว่า ปลายยอดจึงโค้งหนีแสง
-ยับยั้งการแตกตา
-กระตุ้นการออกดอก
-ช่วยเปลี่ยนเพศ, ช่วยให้ติดผลโดยไม่ปฏิสนธิ
2.จิบเบอเรลลิน
-กระตุ้นการแบ่งเซลล์ที่ข้อ ทำให้ต้นสูง
-กระตุ้นงอกเมล็ด ตา
-เพิ่มติดดอก ติดผล
-เปลี่ยนดอกผู้เป็นดอกเมีย (ตระกูลแดง)
-ยืดช่อองุ่น
3.ไซโทไคนิน
-พบในน้ำมะพร้าว,ยีสต์
-กระตุ้นแบ่งเซลล์
-กระตุ้นหน่อใหม่และการเจริญของกิ่งแขนง (ใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ)
-ชะลอความแก่ของผล
4.เอทีลิน
-เร่งผลสุก
-กระตุ้นออกดอกสับปะรด
-กระตุ้นให้ใบร่วง
-เร่งการไหลยางพารา
5.กรดแอบไซซิค
-พบในส่วนแก่ของพืช
-กระตุ้นให้ใบหลุด ผลแก่หลุด
-ยับยั้งการเจริญและการยืดตัว บริเวณตา
-กระตุ้นปากใบปิด
-กระตุ้นการพักตัว
หน้าที่บางประการที่แต่ละฮอร์โมนมีร่วมกัน
หน้าที่กระตุ้นเซลล์ให้เจริญเติบโต
- ออกซิน จิบเบอเรลลิน ไซโทไคนิน
หน้าที่ที่เกี่ยวกับดอก
1) เปลี่ยนเพศดอก
ออกซิน จิบเบอเรลลิน
หน้าที่ทำให้มีส่วนงอก
1) กระตุ้นการออกดอก
ออกซิน จิบเบอเรลลิน เอทีลีน(สับปะรด)
2) กระตุ้นการงอกเมล็ด ตา
จิบเบอเรลลิน
3) กระตุ้นการงอหน่อใหม่ กิ่งแขนง
ไซโตไคนิน
4) กระตุ้นการงอกของเมล็ด
- เอทีลีน
-หน้าที่เกี่ยวกับการชะลอ,ยับยั้ง
1) ยับยั้งการแตกตา
ออกซิน
2) ยับยั้งการเจริญและยืดตัว บริเวณตา
กรดแอบไซซิค
3) ชะลอการแก่,การร่วงของผล
- ออกซิน ไซโตไคนิน
ฮอร์โมน พืชยังตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทำให้พืชมีการเคลื่อนไหว ซึ่งแบ่งเป็น
1. การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญเติบโต ได้แก่
- ทรอปิซึม หรือ ทรอปิกมูฟเมนต์ ซึ่งมีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า เช่น แรงโน้มถ่วง แสง สารเคมี อุณหภูมิ การสัมผัส
- นาสตี้ หรือ นาสติกมูฟเมนต์ ซึ่งมีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า
2. เนื่องจากแรงดันเต่ง ได้แก่
การสัมผัส การนอนหลับของใบ การปิด-เปิดปากใบ
ข้อสอบการตอบสนองของพืช จำนวน 20 ข้อ1. การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญเติบโต ได้แก่
- ทรอปิซึม หรือ ทรอปิกมูฟเมนต์ ซึ่งมีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า เช่น แรงโน้มถ่วง แสง สารเคมี อุณหภูมิ การสัมผัส
- นาสตี้ หรือ นาสติกมูฟเมนต์ ซึ่งมีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า
2. เนื่องจากแรงดันเต่ง ได้แก่
การสัมผัส การนอนหลับของใบ การปิด-เปิดปากใบ
1. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับออกซิน
1. การผลิตต้นไม้บอนไซ
2. เร่งการงอกรากของกิ่งปักชำ
3. ใช้เป็นยากำจัดวัชพืช
4. การโค้งงอของลำต้นเข้าหาแสง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การผลิตต้นไม้บอนไซไม่ต้องการออกซิน เพราะออกซินจะเร่งราก พืชจะโตเร็ว การผลิตต้นบอนไซอาจใช้สารยับยั้งการเจริญเติบโตพืชช่วย
2. โคลซิซิน (Colchicine) เป็นสารที่ยับยั้งการสร้างไมโทติกสปินเดิล ถ้าแช่รากหอมในสารละลายโคลซิซิน กระบวนการแบ่งเซลล์จะหยุดอยู่ที่ระยะใด
1. แอนาเฟส
2. เทโลเฟส
3. เมทาเฟส
4. อินเตอร์เฟส
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การใช้สารโคลซิซิน (Colchicine) เป็นสารยับยั้งการสร้างไมโทติกสปินเดิล เมื่อนำรากหอมไปแช่ในสารละลายโคลซิซิน กระบวนการแบ่งเซลล์จะหยุดอยู่ในระยะอินเตอร์เฟส เพราะไม่เกิดไมโทติกสปินเดิล
3. ในการทดลองเกี่ยวกับฮอร์โมนพืช นาย ก. นำต้นฤาษีผสมซึ่งมีอายุและขนาดไล่เลี่ยกันมา 3 ต้น
ต้นที่หนึ่งตัดยอดทิ้งไป
ต้นที่สองตัดยอดทิ้งไปแล้วทารอยตัดด้วยขี้ผึ้งผสมฮอร์โมนออกซิน
ต้นที่สามปล่อยไว้ตามธรรมชาติเป็นต้นควบคุม
หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ นาย ก. พบว่าต้นที่หนึ่งมีการเจริญของตาข้างออกไปเป็นกิ่งดีกว่าต้นที่สองและต้นที่สาม ซึ่งสองต้นหลังนี้มีจำนวนกิ่งที่เจริญมาจากตาข้างพอ ๆ กัน อาจสรุปผลของออกซินจากการทดลองนี้ได้ดังนี้
1. ออกซินจากปลายยอดส่งเสริมการแตกกิ่ง
2. ตาข้างปล่อยสารบางอย่างไปยับยั้งการทำงานของออกซินที่ปลายยอด
3. ออกซินมีฤทธิ์สมานบาดแผล ทำให้ลำต้นและใบเจริญได้ดีตามปกติ
4. ออกซินจากปลายยอดยับยั้งการแตกกิ่งของตาข้าง
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
Auxin มีผลยับยั้งการเจริญของตาข้างของลำต้น Auxin มีมากที่บริเวณปลายยอด ปลายราก ดังนั้นเมื่อตัดยอดออกจึงขาด Auxin ทำให้ตาบริเวณด้านข้างเจริญได้ดี
4. การโค้งเข้าหาแสงของพืชเกิดจาก
1. แสงช่วยในการขยายตัวของเซลล์ทำให้มีการโค้งเกิดขึ้น
2. มีการเคลื่อนย้ายของออกซินออกไปจากด้านที่โดนแสงไปยังด้านที่ไม่โดนแสง
3. มีการเคลื่อนย้ายของออกซินออกไปจากด้านที่ไม่โดนแสงไปยังดานที่โดนแสง
4. ไม่มีการเคลื่อนย้ายของออกซินเนื่องจากถูกแสงทำลายไปหมด
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การเคลื่อนที่ของออกซินจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่ถูกแสงไปยังบริเวณที่ไม่มีแสง
1. การผลิตต้นไม้บอนไซ
2. เร่งการงอกรากของกิ่งปักชำ
3. ใช้เป็นยากำจัดวัชพืช
4. การโค้งงอของลำต้นเข้าหาแสง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การผลิตต้นไม้บอนไซไม่ต้องการออกซิน เพราะออกซินจะเร่งราก พืชจะโตเร็ว การผลิตต้นบอนไซอาจใช้สารยับยั้งการเจริญเติบโตพืชช่วย
2. โคลซิซิน (Colchicine) เป็นสารที่ยับยั้งการสร้างไมโทติกสปินเดิล ถ้าแช่รากหอมในสารละลายโคลซิซิน กระบวนการแบ่งเซลล์จะหยุดอยู่ที่ระยะใด
1. แอนาเฟส
2. เทโลเฟส
3. เมทาเฟส
4. อินเตอร์เฟส
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การใช้สารโคลซิซิน (Colchicine) เป็นสารยับยั้งการสร้างไมโทติกสปินเดิล เมื่อนำรากหอมไปแช่ในสารละลายโคลซิซิน กระบวนการแบ่งเซลล์จะหยุดอยู่ในระยะอินเตอร์เฟส เพราะไม่เกิดไมโทติกสปินเดิล
3. ในการทดลองเกี่ยวกับฮอร์โมนพืช นาย ก. นำต้นฤาษีผสมซึ่งมีอายุและขนาดไล่เลี่ยกันมา 3 ต้น
ต้นที่หนึ่งตัดยอดทิ้งไป
ต้นที่สองตัดยอดทิ้งไปแล้วทารอยตัดด้วยขี้ผึ้งผสมฮอร์โมนออกซิน
ต้นที่สามปล่อยไว้ตามธรรมชาติเป็นต้นควบคุม
หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ นาย ก. พบว่าต้นที่หนึ่งมีการเจริญของตาข้างออกไปเป็นกิ่งดีกว่าต้นที่สองและต้นที่สาม ซึ่งสองต้นหลังนี้มีจำนวนกิ่งที่เจริญมาจากตาข้างพอ ๆ กัน อาจสรุปผลของออกซินจากการทดลองนี้ได้ดังนี้
1. ออกซินจากปลายยอดส่งเสริมการแตกกิ่ง
2. ตาข้างปล่อยสารบางอย่างไปยับยั้งการทำงานของออกซินที่ปลายยอด
3. ออกซินมีฤทธิ์สมานบาดแผล ทำให้ลำต้นและใบเจริญได้ดีตามปกติ
4. ออกซินจากปลายยอดยับยั้งการแตกกิ่งของตาข้าง
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
Auxin มีผลยับยั้งการเจริญของตาข้างของลำต้น Auxin มีมากที่บริเวณปลายยอด ปลายราก ดังนั้นเมื่อตัดยอดออกจึงขาด Auxin ทำให้ตาบริเวณด้านข้างเจริญได้ดี
4. การโค้งเข้าหาแสงของพืชเกิดจาก
1. แสงช่วยในการขยายตัวของเซลล์ทำให้มีการโค้งเกิดขึ้น
2. มีการเคลื่อนย้ายของออกซินออกไปจากด้านที่โดนแสงไปยังด้านที่ไม่โดนแสง
3. มีการเคลื่อนย้ายของออกซินออกไปจากด้านที่ไม่โดนแสงไปยังดานที่โดนแสง
4. ไม่มีการเคลื่อนย้ายของออกซินเนื่องจากถูกแสงทำลายไปหมด
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การเคลื่อนที่ของออกซินจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่ถูกแสงไปยังบริเวณที่ไม่มีแสง
5. ส่วนไหนของพืชที่มีการตอบสนองต่อออกซินแต่ไม่ตอบสนองต่อจิบเบอเรลลิน
1. ใบ
2. ลำต้น
3. ราก
4. ดอก
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ออกซินใช้กระตุ้นกิ่งตอนให้งอกราก แต่จิบเบอเรลลินไม่มีผลต่อราก เพราะเป็นสารที่ทำให้เกิดการยืดตัวของเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ตรงช่วงข้อ จึงใช้ยืดช่อองุ่น ทำให้ไม้ดอกมีดอกใหญ่ขึ้นรวมทั้งก้านดอกยาวขึ้น หรือทำให้องุ่นบางพันธุ์ไม่มีเมล็ด
6. ลักษณะอาการของพืชต่อไปนี้มีข้อใดบ้างที่ไม่ได้ควบคุมโดยฮอร์โมนเอทิลีน
1. เร่งการร่วงของใบ
2. เร่งการสุกของผลไม้
3. เร่งการเกิดรากในกิ่งปักชำ
4. กระตุ้นการออกดอก
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
การเร่งรากในกิ่งปักชำใช้ออกซินไม่ใช้เอทิลีน เอทิลีนใช้เร่งผลไม้ให้สุก กระตุ้นพืชพวกสับปะรดให้ออกดอก กระตุ้นการหลุดร่วงของใบไม้และการผลัดใบตามฤดูกาล
1. ใบ
2. ลำต้น
3. ราก
4. ดอก
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ออกซินใช้กระตุ้นกิ่งตอนให้งอกราก แต่จิบเบอเรลลินไม่มีผลต่อราก เพราะเป็นสารที่ทำให้เกิดการยืดตัวของเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ตรงช่วงข้อ จึงใช้ยืดช่อองุ่น ทำให้ไม้ดอกมีดอกใหญ่ขึ้นรวมทั้งก้านดอกยาวขึ้น หรือทำให้องุ่นบางพันธุ์ไม่มีเมล็ด
6. ลักษณะอาการของพืชต่อไปนี้มีข้อใดบ้างที่ไม่ได้ควบคุมโดยฮอร์โมนเอทิลีน
1. เร่งการร่วงของใบ
2. เร่งการสุกของผลไม้
3. เร่งการเกิดรากในกิ่งปักชำ
4. กระตุ้นการออกดอก
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
การเร่งรากในกิ่งปักชำใช้ออกซินไม่ใช้เอทิลีน เอทิลีนใช้เร่งผลไม้ให้สุก กระตุ้นพืชพวกสับปะรดให้ออกดอก กระตุ้นการหลุดร่วงของใบไม้และการผลัดใบตามฤดูกาล
7. ในการปลูกองุ่นของประเทศไทย มีการใช้ฮอร์โมนอะไรเพื่อช่วยทำให้ช่อองุ่นโปร่งขึ้น และลดการเบียดของผลทำให้ผลองุ่นโตมีคุณภาพดีขึ้น
1. ออกซิน
2. เอทิลีน
3. จิบเบอเรลลิน
4. ไคเนติน
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
จิบเบอเรลลิน ทำให้เซลล์ระหว่างข้อของช่อองุ่นขยายตัว จึงใช้ฮอร์โมนนี้ในไร่องุ่น ทำให้ช่อองุ่นโปร่งขึ้น และลดการเบียดของผล ทำให้ผลองุ่นโตขึ้น คุณภาพดี
8. ฮอร์โมนพืช แตกต่างจากฮอร์โมนสัตว์ในแง่ใด
1. ฮอร์โมนพืชเป็นสารอินทรีย์ แต่ฮอร์โมนสัตว์เป็นสารอนินทรีย์
2. ฮอร์โมนพืชมีปริมาณเล็กน้อยก็แสดงผลได้ แต่ฮอร์โมนสัตว์ต้องมีปริมาณมากจึงแสดงผล
3. ฮอร์โมนพืชต้องใช้ที่ตำแหน่งที่มีการสร้างฮอร์โมน แต่ฮอร์โมนสัตว์ใช้ตำแหน่งอื่นได้
4. ฮอร์โมนพืชชนิดเดียวกันแสดงผลได้หลายลักษณะ แต่ฮอร์โมนสัตว์จะเฉพาะเจาะจงกับการแสดงผล
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ฮอร์โมนพืชแตกต่างจากฮอร์โมนสัตว์ ที่ฮอร์โมนพืชชนิดเดียวกันแสดงผลได้หลายลักษณะ เช่น ที่ราก ลำต้น ตา ดอก แต่ฮอร์โมนสัตว์ (ส่วนใหญ่แล้ว) แสดงอาการเฉพาะที่
9. ฮอร์โมนพืช และการแสดงผลในข้อใดถูกต้อง
1. ออกซิน กับ การขยายตัวของเซลล์ตรงช่วงระหว่างข้อ
2. จิบเบอเรลลิน กับ การข่มตาข้างไม่ให้ตาข้างเจริญเติบโต
3. ไซโทไคนิน กับ การเกิดรากของกิ่งปักชำ
4. เอทิลีน กับ การออกดอกของสับปะรด
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
เอทิลีน มีผลต่อการออกดอกของสับปะรด
1. ออกซิน
2. เอทิลีน
3. จิบเบอเรลลิน
4. ไคเนติน
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
จิบเบอเรลลิน ทำให้เซลล์ระหว่างข้อของช่อองุ่นขยายตัว จึงใช้ฮอร์โมนนี้ในไร่องุ่น ทำให้ช่อองุ่นโปร่งขึ้น และลดการเบียดของผล ทำให้ผลองุ่นโตขึ้น คุณภาพดี
8. ฮอร์โมนพืช แตกต่างจากฮอร์โมนสัตว์ในแง่ใด
1. ฮอร์โมนพืชเป็นสารอินทรีย์ แต่ฮอร์โมนสัตว์เป็นสารอนินทรีย์
2. ฮอร์โมนพืชมีปริมาณเล็กน้อยก็แสดงผลได้ แต่ฮอร์โมนสัตว์ต้องมีปริมาณมากจึงแสดงผล
3. ฮอร์โมนพืชต้องใช้ที่ตำแหน่งที่มีการสร้างฮอร์โมน แต่ฮอร์โมนสัตว์ใช้ตำแหน่งอื่นได้
4. ฮอร์โมนพืชชนิดเดียวกันแสดงผลได้หลายลักษณะ แต่ฮอร์โมนสัตว์จะเฉพาะเจาะจงกับการแสดงผล
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ฮอร์โมนพืชแตกต่างจากฮอร์โมนสัตว์ ที่ฮอร์โมนพืชชนิดเดียวกันแสดงผลได้หลายลักษณะ เช่น ที่ราก ลำต้น ตา ดอก แต่ฮอร์โมนสัตว์ (ส่วนใหญ่แล้ว) แสดงอาการเฉพาะที่
9. ฮอร์โมนพืช และการแสดงผลในข้อใดถูกต้อง
1. ออกซิน กับ การขยายตัวของเซลล์ตรงช่วงระหว่างข้อ
2. จิบเบอเรลลิน กับ การข่มตาข้างไม่ให้ตาข้างเจริญเติบโต
3. ไซโทไคนิน กับ การเกิดรากของกิ่งปักชำ
4. เอทิลีน กับ การออกดอกของสับปะรด
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
เอทิลีน มีผลต่อการออกดอกของสับปะรด
10. ปัจจุบัน ฮอร์โมนพืชกลุ่มใดที่สามารถใช้กับพืชผลที่นำมาบริโภคได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
1. ออกซิน และ จิบเบอเรลลิน
2. จิบเบอเรลลิน และ ไซโทไคนิน
3. เอทิลีน และ จิบเบอเรลลิน
4. ออกซิน และ เอทิลีน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ฮอร์โมนออกซินและเอทิลีนสามารถใช้กับพืชผลที่นำมาบริโภคได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
11. การเคลื่อนไหวในข้อใดไม่ใช่การเคลื่อนไหวอันเนื่องจากการเจริญ (Growth movement)
1. การหุบ-กางของใบไมยราพ
2. การบานของดอก
3. การโค้งเข้าหาแสงของลำต้น
4. รากโค้งตามแรงโน้มถ่วงของโลก
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การหุบ-กางของใบไมยราพเป็นการเคลื่อนไหวเนื่องจากความเต่ง (Turgor pressure) เนื่องจากการสูญเสียน้ำที่พัลวินัส ไม่ใช่การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญ (Growth movement)
12. การเคลื่อนไหวของพืชในข้อใดมีทิศทางของการตอบสนองที่ไม่ขึ้นอยู่กับทิศทางของสิ่งเร้า
1. Phototropism
2. Geotropism
3. Nastic movement
4. Thigmotropism
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
Nastic movement เช่น การหุบ-บานของดอกไม้ไม่มีทิศทางการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ส่วน Phototropism การเคลื่อนที่ตอบสนองต่อแสงมีทิศทางเข้าหาแสงหรือหนีแสง
Geotropism เป็นการเคลื่อนที่เข้าหาหรือหนีแรงดึงดูดของโลก
และ Thigmotropism ตอบสนองต่อสิ่งที่สัมผัส
13. การเลื่อนเข้าหากันและเลื่อนออกจากกันของแอกตินและไมโอซินของไมโครฟิลาเมนต์ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของสัตว์ต่อไปนี้ ยกเว้น
1. อะมีบา
2. พารามีเซียม
3. พลานาเรีย
4. ไส้เดือนดิน
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การเลื่อนเข้าเลื่อนออกของ Actin และ Myosin ของ Microfilament ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของ Ameba ที่ใช้ Pseudopodium ของ Planaria ที่ใช้กล้ามเนื้อเช่นเดยวกับไส้เดือนดิน ยกเว้น Paramecium เคลื่อนที่โดยการโบกพัดของ Cilia
14. การเคลื่อนไหวของพืชในข้อใดจัดเป็นการเคลื่อนไหวแบบนาสติก
1. การหุบและบานของดอกไม้
2. การเลื้อยของไม้เลื้อย
3. การจับแมลงของต้นกาบหอยแครง
4. การงอกของหลอดละอองเรณูไปยังรังไข่ของพืชดอก
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การเคลื่อนไหวแบบนาสติก ได้แก่ การหุบ-บานของดอกไม้
15. การงอกของหลอดละอองเรณูไปยังรังไข่ของพืชดอกเกิดจากสิ่งเร้าในข้อใด
1. ความชื้น
2. สารเคมี
3. แรงโน้มถ่วงของโลก
4. ปัจจัยบางอย่างในละอองเรณูเอง
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การงอกของหลอดละอองเรณูไปยังรังไข่ของพืชดอก เกิดจากสารเคมีเป็นสิ่งเร้า
1. ออกซิน และ จิบเบอเรลลิน
2. จิบเบอเรลลิน และ ไซโทไคนิน
3. เอทิลีน และ จิบเบอเรลลิน
4. ออกซิน และ เอทิลีน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
ฮอร์โมนออกซินและเอทิลีนสามารถใช้กับพืชผลที่นำมาบริโภคได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
11. การเคลื่อนไหวในข้อใดไม่ใช่การเคลื่อนไหวอันเนื่องจากการเจริญ (Growth movement)
1. การหุบ-กางของใบไมยราพ
2. การบานของดอก
3. การโค้งเข้าหาแสงของลำต้น
4. รากโค้งตามแรงโน้มถ่วงของโลก
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การหุบ-กางของใบไมยราพเป็นการเคลื่อนไหวเนื่องจากความเต่ง (Turgor pressure) เนื่องจากการสูญเสียน้ำที่พัลวินัส ไม่ใช่การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญ (Growth movement)
12. การเคลื่อนไหวของพืชในข้อใดมีทิศทางของการตอบสนองที่ไม่ขึ้นอยู่กับทิศทางของสิ่งเร้า
1. Phototropism
2. Geotropism
3. Nastic movement
4. Thigmotropism
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
Nastic movement เช่น การหุบ-บานของดอกไม้ไม่มีทิศทางการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ส่วน Phototropism การเคลื่อนที่ตอบสนองต่อแสงมีทิศทางเข้าหาแสงหรือหนีแสง
Geotropism เป็นการเคลื่อนที่เข้าหาหรือหนีแรงดึงดูดของโลก
และ Thigmotropism ตอบสนองต่อสิ่งที่สัมผัส
13. การเลื่อนเข้าหากันและเลื่อนออกจากกันของแอกตินและไมโอซินของไมโครฟิลาเมนต์ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของสัตว์ต่อไปนี้ ยกเว้น
1. อะมีบา
2. พารามีเซียม
3. พลานาเรีย
4. ไส้เดือนดิน
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การเลื่อนเข้าเลื่อนออกของ Actin และ Myosin ของ Microfilament ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของ Ameba ที่ใช้ Pseudopodium ของ Planaria ที่ใช้กล้ามเนื้อเช่นเดยวกับไส้เดือนดิน ยกเว้น Paramecium เคลื่อนที่โดยการโบกพัดของ Cilia
14. การเคลื่อนไหวของพืชในข้อใดจัดเป็นการเคลื่อนไหวแบบนาสติก
1. การหุบและบานของดอกไม้
2. การเลื้อยของไม้เลื้อย
3. การจับแมลงของต้นกาบหอยแครง
4. การงอกของหลอดละอองเรณูไปยังรังไข่ของพืชดอก
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การเคลื่อนไหวแบบนาสติก ได้แก่ การหุบ-บานของดอกไม้
15. การงอกของหลอดละอองเรณูไปยังรังไข่ของพืชดอกเกิดจากสิ่งเร้าในข้อใด
1. ความชื้น
2. สารเคมี
3. แรงโน้มถ่วงของโลก
4. ปัจจัยบางอย่างในละอองเรณูเอง
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
การงอกของหลอดละอองเรณูไปยังรังไข่ของพืชดอก เกิดจากสารเคมีเป็นสิ่งเร้า
16. ข้อใดเป็นการเคลื่อนไหวแบบนาสติกของพืช
1. การโค้งตามแสงของดอกทานตะวัน
2. การทิ้งใบของพืชบางชนิด
3. การงอกของละอองเกสรไปยังรังไข่
4. การนอนของใบจามจุรี
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การนอนของใบจามจุรีถือเป็น Nastic movement เพราะเป็นการหุบ-บานของใบ
17. การเคลื่อนไหวแบบนาสติก (Nastic movement) เกิดจากการตอบสนองของพืชต่อ
1. แสงหรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนไป
2. แรงโน้มถ่วงของโลก
3. ความชื้นหรือสารเคมีบางอย่าง
4. การสัมผัส
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การเคลื่อนไหวแบบนาสติก เช่น การหุบ-บานของดอกและใบ ขึ้นกับแสงหรืออุณหภูมิสิ่งแวดล้อม
18. การเคลื่อนไหวแบบนาสติก ได้แก่ การเคลื่อนไหวในข้อใด
1. การเคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลก
2. การหมุนเวียนของใบพืชไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
3. การพันของลำต้นเกาะติดกับเสาค้ำยัน
4. การหุบและกางของใบผักกระเฉด
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การเคลื่อนไหวแบบนาสติก คือ การหุบบานของดอกและใบ ซึ่งขึ้นกับอุณหภูมิ
19. การตอบสนองของพืชต่อการสัมผัสเรียกว่า
1. Chemotropism
2. Geotropism
3. Thigmotropism
4. Hydrotropism
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
Thigmotropism เป็นการเคลื่อนไหวโดยมีการสัมผัสเป็นสิ่งเร้า เช่น ในการที่ต้นตำลึงหรือเถาวัลย์ใช้ลำต้นพันหลัก
20. การเคลื่อนไหวของยอดตำลึงมีสาเหตุจากสิ่งเร้าชนิดใด
1. แรงดึงดูดของโลก
2. ปริมาณน้ำภายในดิน
3. สิ่งเร้าภายใน
4. อุณหภูมิในอากาศ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ยอดตำลึงจะขึ้นสู่ทิศทางตรงข้ามกับแรงดึงดูดโลกเนื่องจากออกซิน นอกจากนั้นยังขึ้นกับอิทธิพลของสิ่งที่อยู่ใกล้ทำให้เกิดการพันหลัก ดังนั้น จากคำตอบที่ให้เลือกมีเพียงข้อเดียวควรเลือกข้อ 3
1. การโค้งตามแสงของดอกทานตะวัน
2. การทิ้งใบของพืชบางชนิด
3. การงอกของละอองเกสรไปยังรังไข่
4. การนอนของใบจามจุรี
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การนอนของใบจามจุรีถือเป็น Nastic movement เพราะเป็นการหุบ-บานของใบ
17. การเคลื่อนไหวแบบนาสติก (Nastic movement) เกิดจากการตอบสนองของพืชต่อ
1. แสงหรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนไป
2. แรงโน้มถ่วงของโลก
3. ความชื้นหรือสารเคมีบางอย่าง
4. การสัมผัส
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
การเคลื่อนไหวแบบนาสติก เช่น การหุบ-บานของดอกและใบ ขึ้นกับแสงหรืออุณหภูมิสิ่งแวดล้อม
18. การเคลื่อนไหวแบบนาสติก ได้แก่ การเคลื่อนไหวในข้อใด
1. การเคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลก
2. การหมุนเวียนของใบพืชไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา
3. การพันของลำต้นเกาะติดกับเสาค้ำยัน
4. การหุบและกางของใบผักกระเฉด
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
การเคลื่อนไหวแบบนาสติก คือ การหุบบานของดอกและใบ ซึ่งขึ้นกับอุณหภูมิ
19. การตอบสนองของพืชต่อการสัมผัสเรียกว่า
1. Chemotropism
2. Geotropism
3. Thigmotropism
4. Hydrotropism
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
Thigmotropism เป็นการเคลื่อนไหวโดยมีการสัมผัสเป็นสิ่งเร้า เช่น ในการที่ต้นตำลึงหรือเถาวัลย์ใช้ลำต้นพันหลัก
20. การเคลื่อนไหวของยอดตำลึงมีสาเหตุจากสิ่งเร้าชนิดใด
1. แรงดึงดูดของโลก
2. ปริมาณน้ำภายในดิน
3. สิ่งเร้าภายใน
4. อุณหภูมิในอากาศ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
ยอดตำลึงจะขึ้นสู่ทิศทางตรงข้ามกับแรงดึงดูดโลกเนื่องจากออกซิน นอกจากนั้นยังขึ้นกับอิทธิพลของสิ่งที่อยู่ใกล้ทำให้เกิดการพันหลัก ดังนั้น จากคำตอบที่ให้เลือกมีเพียงข้อเดียวควรเลือกข้อ 3
อ้างอิง1 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A
อ้างอิง2
https://www.dek-d.com/board/view/998452/
อ้างอิง3
http://force8949.blogspot.com/2015/09/blog-post.html
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น