เนื้อเยื่อพืชเป็นกลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายๆ กันมาอยู่รวมกันแล้วร่วมกันทำงาน การจัดจำแนกเนื้อเยื่อของพืชมีหลักเกณฑ์มากมาย เช่น รูปร่าง โครงสร้าง ตำแหน่งที่เกิด และหน้าที่ แต่ส่วนมากจะใช้ความสามารถในการแบ่งตัวของเนื้อเยื่อเป็นหลักเกณฑ์ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
1.เนื้อเยื่อเจริญ (Meristematic tissue หรือ Meristem)
คือเนื้อเยื่อในพืชที่ประกอบไปด้วยเซลล์ที่ยังไม่ผ่านการเปลี่ยนสภาพ (เซลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้) ซึ่งมักพบในตำแหน่งที่พืชมีการเจริญเติบโต โดยปกติแล้วเซลล์พืชที่ทำการแบ่งตัวแล้วจะไม่สามารถแบ่งตัวออกมาได้อีก เนื้อเยื่อเจริญจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการแบ่งตัวของเซลล์เนื่องจากประกอบไปด้วยเซลล์ใหม่ที่จะถูกนำไปขยายเนื้อเยื่อและนำไปสู่สร้างอวัยวะใหม่ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับต้นพืช เเบ่งเป็น 3 อย่างคือ
1.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem)
พบบริเวณปลายยอดไม้, ปลายราก และตาไม้ เมื่อแบ่งเซลล์แล้วทำให้ปลายยอด ปลายรากยืดยาวออกไปหรือตาแตกกิ่งก้านใหม่ เนื้อเยื่อเจริญมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก
เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายประกอบด้วยชั้นหลายชั้น ซึ่งจำนวนของชั้นขึ้นอยู่กับชนิดของพืช แต่โดยทั่วไปแล้วชั้นนอกสุดจะถูกเรียกว่าทูนิคา (tunica) และชั้นในสุดเรียกว่าคอร์ปัส (corpus) ทูนิคาจะเป็นตัวกำหนดลักษณะภายนอกของปากใบและริมใบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
2.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral meristem)
หรือเนื้อเยื่อเจริญขั้นทุติยภูมิ (Secondary meristem) เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่เกิดภายหลังในโครงสร้างที่มีการเจริญขั้นที่สอง เช่นรากและลำต้น เซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญส่วนนี้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีผนังเซลล์บาง และจัดเรียงเซลล์อย่างเป็นระเบียบ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
- วาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular cambium) แทรกอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อโฟลเอ็ม (phloem) และไซเล็ม (xylem) ทำหน้าที่สร้างไซเล็มและโฟลเอ็มขั้นทุติยภูมิ ซึ่งกระบวนการสร้างนี้นำไปสู่การสร้างเนื้อไม้และจะดำเนินไปชั่วอายุของพืช พบในพืชใบเลี้ยงคู่ และพืชตระกูล[สน]
- คอร์กแคมเบียม (Cork cambium) ทำหน้าที่สร้างคอร์กเพื่อทำหน้าที่แทนเซลล์เอพิเดอร์มิส (epidermis) โดยคอร์กนี้จะกลายไปเป็นเปลือกไม้ต่อไป
เป็นเนื้อเยื่อเจริญทรงกระบอกที่พบอยู่บริเวณเหนือข้อของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว โดยเนื้อเยื่อเจริญบริเวณนี้จะทำให้ปล้องยืดยาวออกไป
เนื้อเยื่อถาวร(Plant tissues)
เนื้อเยื่อถาวร คือ เนื้อเยื่อพืชซึ่งประกอบด้วยเซลล์ที่แบ่งตัวไม่ได้ และมีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ จะคงรูปร่างลักษณะเดิมไว้ตลอดชีวิตของส่วนนั้น ๆ ของพืชเนื้อเยื่อชนิดนี้เจริญเติบโต และเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ กันจนเซลล์นี้รูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มี Vacuole และ cell wall ก็เปลี่ยนแปลงไปสุดแท้แต่ว่า จะกลายไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรชนิดไหน ซึ่งโดยมากมักมีสารประกอบต่าง ๆ ไปสะสมบน cell wall ให้หนาขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรง
เนื้อเยื่อถาวร คือ เนื้อเยื่อพืชซึ่งประกอบด้วยเซลล์ที่แบ่งตัวไม่ได้ และมีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ จะคงรูปร่างลักษณะเดิมไว้ตลอดชีวิตของส่วนนั้น ๆ ของพืชเนื้อเยื่อชนิดนี้เจริญเติบโต และเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ กันจนเซลล์นี้รูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มี Vacuole และ cell wall ก็เปลี่ยนแปลงไปสุดแท้แต่ว่า จะกลายไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรชนิดไหน ซึ่งโดยมากมักมีสารประกอบต่าง ๆ ไปสะสมบน cell wall ให้หนาขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรง
เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว
Epidermis เป็น simple tissue ที่อยู่ผิวนอกสุดของส่วนต่าง ๆ ของพืช (ถ้าเปรียบกับตัวเรา ก็คือ หนังกำพร้านั่นเอง) เป็นเซลล์ที่มีชีวิต เมื่อโตเต็มที่แล้ว จะมี Vacuole ขนาดใหญ่ จนดัน protoplasm ส่วนอื่น ๆ ให้ร่นไปอยู่ที่ขอบเซลล์หมด
**หน้าที่ของ epidermis**
- ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อที่อยู่ข้างใน และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงด้วย
- ช่วยป้องกันการระเหย (คาย) น้ำ (เพราะถ้าพืชเสียน้ำไปมากจะเหี่ยว) และช่วยป้องกันน้ำไม่ ให้ซึมเข้าไปข้างในด้วย (เพราะถ้าได้รับน้ำมากเกินไป จะเน่าได้ )
- ช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊สทั้งไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจน โดยทางปากใบ
- ช่วยดูดน้ำและเกลือแร่
**หน้าที่ของ epidermis**
- ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อที่อยู่ข้างใน และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงด้วย
- ช่วยป้องกันการระเหย (คาย) น้ำ (เพราะถ้าพืชเสียน้ำไปมากจะเหี่ยว) และช่วยป้องกันน้ำไม่ ให้ซึมเข้าไปข้างในด้วย (เพราะถ้าได้รับน้ำมากเกินไป จะเน่าได้ )
- ช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊สทั้งไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจน โดยทางปากใบ
- ช่วยดูดน้ำและเกลือแร่
Parenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบด้วย Parenchyma Cell ซึ่งเป็นเซลล์พื้นทั่ว ๆ ไป และพบมากที่สุดในพืชโดยเฉพาะส่วนที่อ่อนนุ่มและอมน้ำได้มาก เช่น ในชั้น Cortex และ Pith ของรากและลำต้น
Parenchyma cell เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีรูปร่างหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ทรงกระบอกกลม หรือทรงกระบอกเหลี่ยมด้านเท่า อาจกลมรี มี cell wall บาง ๆ
** หน้าที่ Parenchyma**
- ช่วยสังเคราะห์แสง
- สะสมอาหาร (พวกแป้ง โปรตีน และไขมัน ) น้ำ
- สร้างน้ำมันที่มีกลิ่นหอมหรืออื่น ๆ ตามแต่ชนิดของพืชนั้น ๆ
- บางส่วนช่วยทำหน้าที่หายใจ
Parenchyma cell เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีรูปร่างหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ทรงกระบอกกลม หรือทรงกระบอกเหลี่ยมด้านเท่า อาจกลมรี มี cell wall บาง ๆ
** หน้าที่ Parenchyma**
- ช่วยสังเคราะห์แสง
- สะสมอาหาร (พวกแป้ง โปรตีน และไขมัน ) น้ำ
- สร้างน้ำมันที่มีกลิ่นหอมหรืออื่น ๆ ตามแต่ชนิดของพืชนั้น ๆ
- บางส่วนช่วยทำหน้าที่หายใจ
Collenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบด้วย Collenchyma cell พบมากในบริเวณ Cortex ใต้ epidermis ลงมา ในก้านใบ เส้นกลางใบ เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เซลล์อัดแน่น ขนาดของเซลล์ส่วนมากเล็ก หน้าตัดมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมแต่ยาวมาตาม ความยาวของต้น และปลายทั้งสองเสี้ยมหรือตัดตรง
**หน้าที่ของ Collenchyma**
- ช่วยทำให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเหนียวและแข็งแรงทรงตัวอยู่ได้
- ช่วยป้องกันแรงเสียดทานด้วย
Sclerenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบขึ้นด้วยเซลล์ซึ่งมีลักษณะทั่วๆ คือ เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว (ตอนเกิดใหม่ ๆ ยังมีชีวิตอยู่แต่พอโตขึ้น Protoplasm ก็ตายไป ) เซลล์วอลหนามากประกอบขึ้นด้วยเซลล์ลูโลสและลิกนิก เนื้อเยื่อชนิดนี้แข็งแรงมากจัดเป็นโครงกระดูกของพืช
Sclerenchyma จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดตามรูปร่างของเซลล์ คือ
Sclerenchyma จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดตามรูปร่างของเซลล์ คือ
1. Fiber เรามักเรียกว่าเส้นใย ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะเรียวและยาวมากปลายทั้งสองเสี้ยม หรือค่อนข้างแหลม มีความเหนียวและยึดหยุ่นได้มากจะเห็นได้จากเชือกที่ทำจากลำต้นหรือใบของพืชต่าง ๆ
** หน้าที่ของ Fiber**
- ช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช
- ช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรงและแข็งแรง และให้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของ คนมาก เช่น พวกเชือก เสื้อผ้า ฯลฯ ก็ได้มาจากไฟเบอร์ ของพืชเป็นส่วนใหญ่
2. Stone cell ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะคล้ายกับไฟเบอร์ แต่เซลล์ไม่ยาวเหมือนไฟเบอร์ เซลล์อาจจะสั้นกว่าและป้อม ๆ อาจกลมหรือเหลี่ยมหรือเป็นท่อนสั้น ๆ รูปร่างไม่แน่นอน พบอยู่มากตามส่วนแข็ง ๆ ของพืช **หน้าที่ของ Stone cell**** หน้าที่ของ Fiber**
- ช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช
- ช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรงและแข็งแรง และให้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของ คนมาก เช่น พวกเชือก เสื้อผ้า ฯลฯ ก็ได้มาจากไฟเบอร์ ของพืชเป็นส่วนใหญ่
- ช่วยให้ความแข็งแรงแก่ส่วนต่าง ๆ ของพืช (เพราะเป็นเซลล์ที่แข็งมาก)
3.Cork เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด ของลำต้นและรากใหญ่ ๆ ที่แก่แล้ว ของไม้ยืนต้น เซลล์ของคอร์ก มีลักษณะคล้ายพาเรนไคมาเซลล์ แต่ผนังหนากว่ามีทั้ง ไพมารีและเซคันดารี วอลล์ และตามปกติจะไม่มีพิตเลย เนื้อเยื่อคอร์ก มีแต่เซลล์ที่ตายแล้ว
ต้นไม้บางชนิดมีคอร์ก หุ้มหนามาก จนบางทีเราลอกเอามาทำจุกขวดหรือแผ่นไม้คอร์กนั่นเอง คอร์กยังพบที่โคนก้านใบขณะที่ใบกำลังจะร่วง และแผลเป็นตามลำต้น
**หน้าที่ของคอร์ก**
- ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำ ป้องกันความร้อน ความเย็น และอันตรายต่าง ๆ จากภายนอก
เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน
เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบขึ้นด้วย เซลล์หลายชนิดอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน เพื่อทำงานร่วมกัน ประกอบขึ้นด้วย 2 กลุ่มด้วยกันคือ Xylem และ Phloem ซึ่งจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า Vascular bundle หรือ Vascular tissue นั่นเอง
1. xylem เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่างๆจากรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆของพืช การลำเลียงแบบนี้เรียก conduction ดังนั้นเนื้อเยื่อกลุ่มนี้อาจเรียกว่า conductive tissue ในพืชมีดอก xylem ประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิดคือ tracheid , vessel ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ ส่วน xylem parenchyma และ xylem fiber ทำหน้าที่ค้ำจุนให้ความแข็งแรงและช่วยเหลือการทำงานของเซลล์ลำเลียง
1.1 tracheid เป็นเซลล์รูปร่างยาวๆปลายทั้งสองข้างแหลม ที่ผนังเซลล์มีการสะสมลิกนินหนาไม่สม่ำเสมอ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่เซลล์จะตายโพรโตพลาสซึมจะสลายตัว ทำให้เกิดเป็นช่องตรงกลางเซลล์เรียก lumen เทรคีตนอกจากจะทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุแล้วยังทำหน้าที่ค้ำจุนส่วนต่างๆของพืช
1.2 vessel เป็นเซลล์ที่คล้ายเทรคีต คือ มีชีวิตเมื่อยังอายุน้อยและเมื่อเติบโตเต็มที่ก็ตาย โพรโตพลาสซึมที่อยู่ตรงกลางเซลล์จะสลายไป จึงมีช่องว่างตรงกลางเซลล์ใหญ่ผนังเซลล์มีลิกนินมาพอก เซลล์ของ vessel มีรูปร่างยาวแต่สั้นกว่า tracheidและมีหลายเซลล์มาต่อกันจนมีลัษณะคล้ายท่อน้ำ
1.3 xylem parenchyma เป็นเซลล์ที่มีชีวิต มีลักษณะและรูปร่างคล้าย parenhyma ทั่วๆไป เมื่ออายุมากขึ้นผนังเซลล์จะหนาเนื่องจากมีลิกนินมาสะสม ทำหน้าที่สะสมพวกแป้ง น้ำมัน ผลึกสารต่างๆ1.4 xylem fiber เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาวแบบ fiber ผนังหนาปลายเสี้ยม อาจมีผนังกั้นเป็นห้องๆทำหน้าที่ช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช
2. phloem เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงอาหารพวกอินทรีย์สาร ซึ่งได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงในใบและส่วนของพืชที่มีคลอโรฟิลล์ไปส่วนต่างๆของพืช การลำเลียงอาหารของพืชแบบนี้เรียก translocation phloem ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ 4 ชนิด
2.1 seive tube member เป็นเซลล์เดี่ยวๆรูปทรงกระบอกยาว ปลายเสี้ยม เมื่อเจริญเต็มที่แล้วจะไม่มีนิวเคลียสแต่เซลล์ยังคงมีชีวิตอยู่ ปลายเซลล์ทั้ง 2 ข้างบางและมักจะเอียงมีรูพรุนเรียก seive plate ซึ่งทำให้ไซโทพลาสซึมภายในติดต่อกันได้เซลล์แต่ละเซลล์จะมาเรียงต่อกันเป็นท่อยาวทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงอาหารเรียก seive tube
2.2 companion cell อยู่ติดกับ seive tube cell เสมอ เป็นเซลล์ที่มีความยาวเท่าๆกับ seive tube cell แต่มีขนาดเล็กกว่า เมื่อเจริญเต็มที่แล้วยังคงมีนิวเคลียสอยู่ ผนังเซลล์ของ companion cell และ seive tube ที่ติดกันนี้จะมีรูเล็กๆมากทำให้เซลล์ทั้ง 2 ชนิดติดต่อกันได้ คอมพาเนียนเซลล์ทำหน้าที่คอยช่วยเหลือในกรทำงานของซีพทิว
2.3 phloem parenchyma เป็นเซลล์ที่มีลักษณะเหมือน parenchyma ทั่วๆไป มีหน้าที่สะสมอาหาร ดังนั้นจึงอาจะพบผลึก tanninและเม็ดแป้งภายในเซลล์นี้ก็ได้ มักมีในพืชใบเลี้ยงคู่
2.4 phloem fiber เป็นเซลล์ที่มีลักษณะคล้าย fiber ที่พบทั่วไป มีหน้าที่ช่วยทำให้ phloem แข็งแรงยิ่งขึ้น
ทีมา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D
http://www.thaigoodview.com/node/49579
https://sidthikorn5651.wordpress.com/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3/
https://sidthikorn5651.wordpress.com/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3/
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น