การศึกษาชีววิทยา(Biology)
ซึ่งประกอบด้วย
1.กำหนดปัณหา(Statement of the problem)
คือ ปัญหาเกิดขึ้นจากการเป็นคนช่างสังเกตช่างคิด มีความอยากรู้
อยากเห็นและใจกว้าง เช่น นักจุลชีววิทยาชาวอังกฤษชื่ออเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง สังเกตว่าแบคทีเรียในจานเพาะเชื้อไม่เจริญ ถ้ามีเพนิซิลเลียม(Penicilium sp.) เจริญอยู่ด้วย และยังพบว่าราชนิดนี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโต
2.ตั้งสมมติฐาน(Formulation of hypothesis)
คือ การคาดคะเนคำตอบที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง
เรียกว่า สมมติฐาน สมมติฐานเกิดขึ้นหลังจากได้กำหนดปัญหาชัดเจนแล้วในการตั้งสมมติฐานมักใช้ประโยค"ถ้า..ดังนั้น.."ส่วนที่ขึ้นต้นด้วย"ถ้า"จะระบุข้อความที่เป็นเหตุหรือเป็นคำตอบที่เป็นไป
3.การตรวจสอบสมมติฐาน(Test hypothesis)
คือ ในทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จะมีวิธีทดลองโดยออกแบบการทดลองที่มีการกำหนดและควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการทดลองซึ่งตัวแปรแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1.ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ
2.ตัวแปรตาม
3.ตัวแปรควบคุม
4.การแปรผลและสรุปผลการทดลอง(Conclusion)
การทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้นนักวิทยาศาสตร์จะแปลความหมายข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และลงข้อสรุปภายในขอบเขตของผลการทดลองหรือผลการศึกษาที่เป็นจริง หากผลสรุปเหมือนกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ขอขอบคุณจาก : http://www.geocities.com/entbiology/p-2.html
ขอขอบคุณจาก:https://sites.google.com/site/chawissil/kar-suksa-chiwwithya
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น